บริษัทส.สามัคคี คอร์ปอร์เรทท์ จำกัด

ไม้สัก

฿0.00
ไม้สักมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Teak และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectonagrandisอยู่ในวงค์Verbenaceaeมีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก  
  • หมวดหมู่ : ไม้แปรรูป
  • รหัสสินค้า : 000003

รายละเอียดสินค้า ไม้สัก

ไม้สักมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Teak และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectonagrandisอยู่ในวงค์Verbenaceaeมีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
            ไม้สักเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือและบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก คือ ในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่สำพูน เชียงราย สำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัยเพชรบูรณ์ และพิจิตรและมีบ้างเล็กน้อยในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
            ไม้สักชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบที่น้ำไม่ขังไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นเดียวกัน ในพื้นที่ที่เป็นดินปนทรายแต่น้ำไม่ขังไม้สักมักขึ้นเป็นหมู่ไม้สักล้วน ๆ และมีไม้ขนาดใหญ่ ไม้สักชอบพื้นที่ที่มีชั้นดินลึก การระบายน้ำดีไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง
            ไม้สักขึ้นได้ดีในดินที่เกิดจากหินหลายชนิด แต่ความเจริญงอกงามของไม้สักขึ้นอยู่กับความลึกการระบายน้ำ ความชื้น และความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้น ๆ โดยเฉพาะในดินที่เกิดจากหินปูนซึ่งแตกแยกผุผังจนกลายเป็นดินร่วนที่ลึก ไม้สักชอบมากและเจริญเติบโตดีมากไม้สักชอบดินที่มีความเป็นกลางและด่างเล็กน้อย ค่า pH ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,200-2,000 มม.ต่อปีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร และมีฤดูแล้งแยกจากฤดูฝนชัดเจนจะทำให้ไม้สักมีลวดลายสวยงาม

ลักษณะบางประการ

ไม้สักเป็นต้นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่มีลำต้นเปลา มักมีพูพอน ตอนโคนต้นเรือนยอดกลม สูงเกินกว่า 20 เมตร
            เปลือกหนา0.30-1.70 ซม.สีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ
            ใบใหญ่ความกว้าง 25-30 ซม.ความยาว30-40 ซม.รูปใบรีมน หรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ท้องใบสากหลังใบสีเขียว แกมเทา เป็นขน
            ดอกเล็กสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือน มิถุนายน เป็นต้น
            ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม.ผลหนึ่ง ๆ มีเมล็ดใน1-4 เมล็ด เปลือกแข็งมีขนสั้น ๆ นุ่ม ๆสีน้ำตาล หุ้มอยู่ ผลแก่ในราวเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
            ลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองทอง ถึงสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยใสกบ ตบแต่งง่าย

คุณสมบัติบางประการ

            ไม้สักปลวกและมอดไม่ทำอันตรายเพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษอยู่ชนิดหนึ่ง ชื่อ O-cresyl methyl ether สารเคมีชนิดนี้ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมป่าไม้ มีคุณสมบัติเมื่อทาหรืออาบไม้แล้วไม้จะมีความคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดราได้อย่างดียิ่งนอกจากนี้ในไม้สักทอง ยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm.(ไม้สักทอง 26 ต้นมีทองคำหนัก 1 บาท)
            ไม้สักเป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ จากการทดลองตามหลักวิชาการไม้สักมีความแข็งแรงสูงกว่า 1,000 กก./ตร.ซม.และมีความทนทานตามธรรมชาติ จากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้สักไปทดลองปักดิน ปรากฏว่า มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี(ระหว่าง 11-18 ปี)


การคัดเลือกแม่ไม้สักทอง

            การคัดเลือกแม่ไม้ (Plus tree) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์ไม้สักทองผลจากการคัดเลือกแม่ไม้ จะทำให้ได้สายพันธุ์ของไม้ ที่มีคุณลักษณะดีสำหรับนำไปใช้ในการขยายพันธุ์ทั้งจากการเพาะด้วยเมล็ดโดยการสร้างสวนเมล็ดพันธุ์หรือการผลิตกล้าไม้คุณภาพดีแบบไม่อาศัยเพศ เช่น การตัดกิ่งปักชำ และ การะเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อการมีแม่ไม้ทีดีนั้นอาจเป็นหลักประกันได้ว่าจะให้เมล็ดหรือกล้าไม้ที่ดีสำหรับการปลูกสร้างสวนป่าเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตเนื้อไม้ต่อหน่วยเนื้อที่ได้
            การคัดเลือกแม่ไม้สักทองมีหลักในการพิจารณาอยู่หลายประการทั้งการพิจารณาจากลักษณะภายนอก (Phenotypes) และลักษณะภายใน (Genotypes) ลักษณะภายนอกสามารถพิจารณาได้ทันทีตามหลักวิชาการใช้วิธีประเมินค่าลักษณะต่าง ๆ ของต้นไม้ โดยการให้คะแนนส่วนลักษณะภายในพิจารณาได้ยากเพราะจะต้องมีการโค่นต้นไม้หรือเลื่อยแปรรูปเสียก่อนจึงจะพิจารณาได้ซึ่งหมายความว่าจะต้องเสียแม่ไม้ที่ให้เมล็ดไป แต่ถ้าเป็นการตัดกิ่งปักชำ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเมื่อโค่นแม่ไม้แล้วสามารถใช้หน่อจากต้นตอได้
            การคัดเลือกแม่ไม้สักทองในประเทศไทย มีลักษณะในการพิจารณากว้าง ๆ ดังนี้
            1.อายุของต้นไม้
            ไม้สักทองที่สามารถนำมาทำเป็นแม่ไม้ได้นั้นควรมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ทั้งนี้ เพราะไม้สักทองที่ปลูกจะนำไปใช้ประโยชน์เมื่อมีอายุประมาณ 15 ปี ไม่ควรเลือกไม้สักทองที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี เป็นแม่ไม้ถึงแม้ว่าจะมีขนาดโตตามที่กำหนดไว้ก็ตามเพราะกล้าไม้ที่ได้จากแม่ไม้ที่มีอายุน้อยจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
            2. ลักษณะของลำต้น
            ลักษณะภายนอกที่สำคัญประการแรก ในการคัดเลือกไม้สักทองเพื่อใช้ทำแม่ไม้ ควรคัดเลือกลักษณะของลำต้น ต้องเปลาตรง ไม่บิด คดงอและกิ่งก้านไม่มาก กล่าวคือ มี clearbole ยาวกว่าต้นอื่น ๆทั้งนี้เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทอง เพื่อใช้ประโยชน์จากลำต้นไม้สักทองที่มีลำต้นเปลาตรง จะขายได้ราคาแพงกว่าไม้สักทองที่ลำต้นคดงอ
            3. ขนาดของลำต้น
            ลักษณะภายนอกที่ควรพิจารณาอันดับต่อไป ก็คือ ขนาดของลำต้นควรคัดเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่กว่าต้นอื่น ๆ ในชั้นอายุเดียวกันซึ่งควรมีความโตทางเส้นรอบวงเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 7.0 ซ.ม.การคัดเลือกแม่ไม้สักทองโดยพิจารณาความโตเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากต้นไม้ขนาดใหญ่ย่อมให้ปริมาตรเนื้อไม้ต่อเนื้อที่สูงกว่าและไม้สักทองที่มีความเจริญเติบโตดีจะสามารถถ่ายทอดลักษณะความเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย
            4.เรือนยอด
            รูปทรงเรือนยอดต้องเป็นพุ่ม ได้สัดส่วนกับความสูง รัศมีความกว้างของทรงพุ่มรอบเรือนยอดเท่ากัน น้ำหนักเรือนยอดไม่ถ่วงไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ต้นไม้โค่นล้มได้ง่ายเมื่อเกิดลมพัดแรง
            5. ลักษณะและคุณภาพของเนื้อไม้
            วัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทองนั้น นอกจากต้องการต้นไม้ที่รูปทรงดีและโตเร็วแล้ว ยังมีความต้องการเนื้อไม้สักทองที่มีลวดลายสวยงามด้วย ดังนั้น ต้นสักที่มีลวดลายสวยงามจึงเป็นที่ต้องการและควรคัดเลือกไว้เป็นแม่ไม้
            6. ความต้านทานโรคและแมลง
            ปัจจุบัน ปรากฏว่าสวนสักทองของทางราชการและเอกชนที่ปลูกไว้แล้วมีโรคและแมลงรบกวนเป็นจำนวนมากทำให้เกิดความเสียหายที่บริเวณ ลำต้น ใบ กิ่งก้าน เปลือกหรือส่วนอื่น ๆ ดังนั้นการคัดเลือกแม่ไม้ไว้ทำพันธุ์ต้องไม่ปรากฏว่ามีร่องรอยของโรคและแมลงรบกวนตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้นดังกล่าวแล้ว
            7. ความสามารถในการแตกหน่อ
            ความสามารถในการแตกหน่อของไม้สักทองจะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีการโค่นต้นไม้เสียก่อนแต่ก็เป็นผลดีในการปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์โดยวิธีแตกหน่อในรุ่นต่อไปและการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแม่ไม้สักทองควรจะต้องมีการแตกหน่อที่ดีและให้หน่อที่สมบูรณ์ด้วย
            8. ความสามารถในการแตกรากของกิ่งปักชำ
            ลักษณะในข้อนี้ มีความจำเป็นสำหรับการเตรียมกล้าไม้สักทองแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการใหม่ที่กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อการปลูกสร้างสวนสักทอง ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต การทดสอบความสามารถของแม่ไม้ในข้อนี้ จำเป็นต้องมีการทดลองเก็บข้อมูลไว้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์
            9. ความสามารถในการถ่ายทอดและดำรงพันธุ์
            แม่พันธุ์ที่ดีต้องให้ลูกไม้ที่มีลักษณะเด่นเหมือนแม่พันธุ์นั้นกล้าไม้รุ่นต่อๆ ไปต้องไม่กลายพันธุ์ง่าย สามารถถ่ายทอดลักษณะที่ดีได้ตลอดไป ลักษณะเช่นนี้จะทราบได้ต้องใช้เวลาในการศึกษาทดลองไปเรื่อย ๆจนกว่าจะตัดสินใจได้